โซบะต้องสูดให้มีเสียง?
เครื่องปรุงนอกจากจะใช้หอมซอยในโซบะร้อนแล้วยังใส่พริกเจ็ดชนิดตามใจชอบได้ ส่วนโซบะเย็นอย่างโมริโซบะหรือซารุโซบะก็ใช้วาซาบิ เมื่อสั่งโมริหรือซารุ ตอนที่กินเสร็จแล้ว ร้านก็จะนำน้ำร้อนที่ใช้ตอนต้มโซบะออกมาเรียกว่าน้ำร้อนโซบะออกมาเสิร์ฟ ถือเป็นปกติ นำน้ำร้อนโซบะนี้มาเจือจางน้ำจิ้มโซบะซึยุ แล้วลิ้มรสดูก็เป็นอีกความตื่นเต้นที่จะเพลินกับโมริได้<br>มีหลายประเทศที่มีมารยาทว่าอย่าสูดเสียงดังเวลาทานอาหาร แต่เฉพาะโซบะกับอุด้งญี่ปุ่นเท่านั้น การกินโดยสูดให้มีเสียงไม่ถือว่าผิดมารยาท มีการกล่าวว่านี่เป็นการสูดอากาศเข้าให้สามารถเพลิดเพลินกับกลิ่นของโซบะได้
ประวัติความเป็นมาของโซบะ
โซบะถูกเพาะปลูกตั้งแต่สมัยโจมง แล้วเกิดการเก็บเกี่ยวโซบะในศตวรรษที่ 16-17
ประวัติของโซบะนั้นเก่าแก่ ที่ญี่ปุ่นมีการเพาะปลูกตั้งแต่สมัยโจมง ในสมัยคามาคุระมีการเข้ามาของเครื่องโม่จากประเทศจีน จากสิ่งนี้จึงได้มีการผลิตผงโซบะได้ง่ายขึ้น โซบะจึงได้รุ่งเรืองและมีการกินกันต่อมา วิธีการปรุงแบบแต่งรูป (ตัดเส้นโซบะ) ของเส้นที่กินในปัจจุบันกล่าวว่าถือกำเนิดมาตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 16 - ต้นศตวรรษที่ 17
ซูชิกับปลาดิบ สองอย่างนี้ถูกเข้าใจสับสนเนื่องจากใช้ปลาดิบๆ
เหมือนกัน จริงๆ แล้วเป็นอาหารคนละอย่าง ที่มาของซูชิเดิมทีมาจากข้าวที่ผสมน้ำส้ม = มาจาก
“ข้าวน้ำส้ม(ซูเมชิ)” ตัว “เมะ” ได้หายไปแต่เมื่อใดไม่แน่ใจจึงถูกเรียกกันว่า “ซูชิ”
ข้าวปั้นซูชิเป็นการนำปลามาวางบนข้าวน้ำส้มที่ปั้นมา จิราชิซูชิคือการนำปลามาวางบนข้าวน้ำส้มในชาม
มากิซูชิที่ม้วนปลาด้วยข้าวน้ำส้มกับสาหร่าย ซึ่งมีหลากหลายรูปแบบ แต่ของประกอบเป็นชุดกับข้าวน้ำส้มก็คือซูชินั่นเอง
”Kisokaido rokujyuku tsugi no uchi Moriyama”
ภาพ: อุตากาว่า คุนิโยชิ ปีคะเอที่ 5 (1852)
ห้องเก็บวรรณกรรมพิเศษหอสมุดกลางประจำกรุงโตเกียว
※ห้ามนำไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาติ